วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญทางศาสนา


วันฮารีรายอ
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
ประเพณีวันฮารีรายอ หรืองานฉลองการเลิกถือศีลอด
ประเพณีวันฮารีรายอ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นภายหลังการชำระล้างกายใจให้บริสุทธิ์จากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน มุสลิมจะมีการเฉลิมฉลองและงานรื่นเริงประจำปี ซึ่งในรอบหนึ่งปีมุสลิมจะมีวันการฉลองรื่นเริง ๒ ครั้ง คือ วันอีดิ้ลฟิตรี(รายอปอซอ) และวันอีดิ้ลอัฎฮา(รายอฮายี)
วันอีดิ้ลฟิตรี รื่นเริงรับวันใหม่ หลังใจกายบริสุทธิ์
ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนเชาว์วาล(เดือน ๑๐ ของปฏิทินอิสลาม) วันนี้ถือเป็นวันออกบวช หลัง
จากที่มุสลิมถือศีลอด(ปอซอ) มาแล้วในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา ๑ เดือน ดังนั้นเมื่อพ้นจากการถือศีลอด ก็จะมีงานเฉลิมฉลอง คือ วันอีดี้ลฟิตรี หรือวันรายอปอซอตามภาษามลายูถิ่นของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งหมายถึง วันที่เวียนมาสู่สภาเดิม ซึ่งในวันนี้จะเป็นวันที่มุสลิมมีความรื่นเริง โดยจะเห็นรูปแบบลักษณะเฉพาะพิเศษในวันนี้ คือ เสียงตักบีร(เชิญชวนละหมาด) ตั้งแต่ช่วงกลางคืนที่มีการเห็นดวงจันทร์คืนรายอ จนกระทั่งเช้าก่อนละหมาดรายอ ตามแนวทางท่านศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.) ให้มีการอาบน้ำสุหนัตวันรายอ ผู้ที่มีรายได้มีการแจกข้าวสารฟิตเราะห์แก่คนยากจน การแจกสิ่งของ เงิน แก่เด็ก ๆ และในวันนี้ท่านจะได้เห็นความสวยงาม และหลากหลายของแพรพรรณ เนื่องด้วยมุสลิมทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดที่ดีที่สุด ความบาดหมางที่เคยมีระหว่างกันจะต้องมีการลบเลือนให้หายไปด้วยการสลามขอโทษกับทุกคนต่อความผิดทั้งที่เรารู้และไม่รู้ ผู้ที่เป็นเพื่อน ญาติพี่น้องจะมีการเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่กัน พร้อมรับประทานอาหารพื้นเมืองที่หลากหลาย เช่น “ตูป๊ะ” (ข้าวเหนียวต้ม) จึงถือได้ว่าเป็นวันแห่งการรวมตัวและความสุขของมุสลิมในชายแดนใต้มุสลิมทั่วโลก
วันอีดิ้ลอัฎฮา สู่ความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์

การละเล่นของไทย



 งูกินหาง

           "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน..." ประโยคคุ้น ๆ ให้การเล่น งูกินหาง ที่ยังติดตรึงในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน และเป็นที่นิยมของเด็กในทุกเทศกาล ทุกโอกาสอีกด้วย

           วิธีการเล่นงูกินหาง เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)

           พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"

           แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

ประเพณีไทย


วันลอยกระทง

               วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
              ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
               สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า เทศกาลลอยกระทงชักนำให้วัยรุ่นไทยร่วมประเวณีกันมากที่สุด มีความเป็นไปได้ที่เยาวชนไทยร้อยละ 38 จะถูกล่วงละเมิดทางเพศในวันลอยกระทง ทั้งนี้ เพราะเทศกาลลอยกระทงจัดในยามค่ำคืน หนุ่มสาวพบเจอกันได้ง่ายและมักเสพสุรายาเมากัน นอกจากนี้ มหาเถรสมาคมยังเปิดเผยด้วยว่า ในภาคอีสานมักจัดงานวัดซึ่งประกอบด้วยการเสพของมึนเมาและจัดแสดงอนาจารในคืนลอยกระทง

คุณธรรมจริยรธรรมความเป็นครู


ความเป็นครู

           ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว  ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง  เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย  ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้